Last updated: 25 มี.ค. 2567 | 479 จำนวนผู้เข้าชม |
4 โรคหน้าร้อนในเด็ก ที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม
ฤดูร้อนกลับมาเยือนอีกแล้ว อากาศร้อนๆชื้นๆอบอ้าวแบบนี้อาจทำให้รู้สึกเหนอะหนะ ไม่สบายตัว ยิ่งไปกว่านั้น อากาศร้อนยังทำให้เกิดเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายกว่าเดิม เช่น จากเหงื่อที่ไหลออกมา หรือ ความชื้นทำให้อาหารเสียง่าย และเด็กภูมิต้านทานยังต่ำ หากไม่ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี จะทำให้ลูกไม่สบาย ป่วยได้นะคะ
1. โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ
ความชื้นจากอากาศร้อนทำให้เชื้อไวรัสและแบคทีเรียเจริญเติบโตเร็ว อาหารเสีย และปนเปื้อนง่ายกว่าเดิม หากเด็กติดเชื้อจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวบ่อยครั้ง หรือมีไข้ต่ำๆ และร่างกายขาดน้ำ
วิธีการดูแลรักษา
หากถ่ายเหลวบ่อยควรให้ลูกกินน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำในร่างกายที่เสียไป หมั่นให้ลูกน้อยล้างมือก่อนทานอาหารทุกครั้ง อาหารควรปรุงสุกอยู่เสมอ และ ควรทานอาหารที่ทำสดใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน
2. ไข้หวัดใหญ่
โรคนี้สามารถเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นโรคที่ติดต่อง่าย เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) สามารถติดต่อได้ผ่านคนสู่คน จากการไอ จาม มีอาการไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามตัว ไอมีเสมหะ ยิ่งหากเป็นที่อายุต่ำกว่า 5 ปี จะมีอาการรุนแรงกว่า เกิดภาวะปอดอีกเสบแทรกซ้อน มีไข้สูง ไอ หายใจเหนื่อยหอบ
วิธีการดูแลรักษา
สามารถรักษาได้ตามอาการ เช่น ใช้ยาลดไข้ เช็ดตัว ดื่มน้ำเยอะ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หรือกลุ่มที่มีอาการรุนแรง จะให้ยาต้านไวรัสโดยตรง นอกจากนี้คุณแม่สามารถพาลูกน้อยเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคได้
3. โรคลมแดด (Heat stroke)
เมื่อลูกน้อยอยู่ในกลางแดดมากเกินไป อุณหภูมิร่างกายในตัวจะสูงขึ้นจะทำให้ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้เกิดโรคลมแดดได้ อาการจะตัวร้อนจัดแต่ไม่มีเหลื่อ ผิวหนังแดง หัวใจเต้นเร็วและแรง อาจมีอาการสับสน และชักหมดสติได้
วิธีการดูแลรักษา
เมื่อเกิดอาการควรพาเด็กเข้าในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกทันที และปฐมพยาบาลเบื้อต้นโดยการนอนราบ ยกเท้าทั้งสองข้างให้สูงขึ้นเพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้น้อยชิ้น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับ หรือประคบน้ำแข็งเพิ่ม เพื่อระบายความร้อนออกจากตัว หรือสามารถป้องกันได้โดยการ ใส่เสื้อผ้าโปร่งระบายอากาศได้ดีในวันที่อากาศร้อน ดื่มน้ำบ่อยๆ และอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
4. โรคผดร้อน
เกิดจากรูขุมขนอุดตันไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ ทำให้เป็นตุ่มแดงที่ผิวหนัง บริเวณใบหน้า ซอกคอ หน้าอก หลัง และต้นขา อาจมีอาการคันและไม่สบายตัว
วิธีการดูแลรักษา
สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งไม่แน่นหนา สบาย และระบายอากาศได้ดี หรือการอาบน้ำเย็น ดื่มน้ำบ่อบๆ ก็สามารถช่วยได้ หากมีอาการคันสามารถใช้คาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการผดได้ พยายามหลีกเลี่ยงการเกา ปกติแล้วจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน แต่หากมีผดร้อนและมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์
ป้องกันไว้ก่อนเพื่อสุขภาพที่ดีในช่วงหน้าร้อน
1. ล้างมือบ่อยๆ ก่อนกินข้าวหรือหลังทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกัน และ ยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ
2. กินอาหารที่สดใหม่ ให้สะอาดถูกสุขลักษณะ และ ดื่มน้ำบ่อยๆ
3. ทำความสะอาดสิ่งของที่อยู่รอบตัว
4. ใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดจนเกินไป
5. พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องอยู่ในที่กลางแจ้งนานๆ
10 พ.ค. 2567
23 พ.ค. 2567
19 มี.ค. 2567